วันพฤหัสบดีที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552

วันพฤหัสบดีที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2552

29 มกราคม 2552 กิจกรรม หน่วยผลไม้

หน่วยผลไม้
การนับ
-สี -รูปทรง - ขนาด
ตัวเลข
- ใส่จำนวนตัวเลขตามจำนวนผลไม้
เปรียบเทียบ
- ขนาด - น้ำหนัก
- รูปทรง - ผิว
- สี - รสชาติ
จำแนก
- รูปทรง - สี
- ขนาด - ผิว
เรียงลำดับ
- ขนาด - น้ำหนัก
- สี - ผิว
การวัด
- ขนาด
- น้ำหนัก
การจัดประเภท
- ขนาด - รูปทรง
- พื้นผิว
- สี - น้ำหนัก
เซท
- สี - ขนาด
- รูปทรง
- พื้นผิว - น้ำหนัก
เศษส่วน
- การแบ่งผลไม้เป็นส่วนๆ
การทำตามแบบหรือลวดลาย
- สี - พื้นผิว
- รูปทรง - ขนาด
การจับคู่
- สี - น้ำหนัก
- รูปทรง - ขนาด
- พื้นผิว - รสชาติ
การอนุรักษ์
- ผลไม้ในตะกร้า,ผลไม้ในลัง
- ผลไม้ในถ้วยแก้วที่ใส่น้ำ,ผลไม้ที่ใส่ในจาน
การแปรรูป
- น้ำหอม - สบู่
- แชมพู - ดอง เชื่อม ทอด

วันพฤหัสบดีที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2551

สรุปการเรียนการสอนสัปดาห์ที่ 6



1. สอนใช้สอดคล้องกับชีวิตประจำวันของเด็ก
2. เปิดโอกาลให้เด็กได้รับประสบการณ์ค้นพบด้วยตนเองแต่อยู่ในความดูแลของคนรอบข้าง
3. มีเป้าหมายและการวางแผน
4. เอาใจใส่ในสื่อการเรียนรู้และลำดับขั้นตอนพัฒนาของเด็ก
5. ใช้วิธีการจดบันทึกพฤติกรรมหรือระเบียบพฤติการณเพื่ใช้วางแผน
6. ใช้ประโยชน์จากประการณ์จากประการณ์เดิมของเด็ก
7. รู้จักใช้สถานการณ์ขณะให้เป็นประโยชน์แก่เด็ก
8. ใช้วิธีทดสอบจากชีวิตจริง
9. ใช้วิธีมีส่วนร่วมกับการปฏิบัติจริงที่เกสี่ยวตัวเลขที่กำหนด
10. วางแผนส่งเสริมให้เด็กเรียนรู้ทั้งที่โรงเรียนและที่บ้านอย่างต่อเนื่อง
11. บันทึกปัญหาการเรียนรู้ของเด็กอย่างสม่ำเสมอ
12. เน้นกระบวนการเล่นจากง่ายไปหายาก
การเตรียมความพร้อมให้เด็กเก่งคณิตศาสตร์จะต้องฝึกให้เด็กมีพัฒนาการทางด้วยสายตาเป็นอันดับแรก
หากเด็กไม่สามารถใช้สายตาในการจำแนกจัดแบ่งประเภทแล้ว เด็กก็จะมีปัญหาการเรียนรู้คณิตศาสตร์ได้

วันพฤหัสบดีที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551

สรุปการเรียนอาทิตย์ที่ 4 วีนที่ 27/11/51

ขอบข่ายของหลักสูตรคณิตศาสตร์
การจัดหลักสูตรจะต้องมีความสมดุลและอาศัยครูที่มีวิชาความรู้ และมีความเข้าใจเกี่ยวกับขอบข่ายของคณิตศาสตร์ในระดับปฐมวัย นั่นคือครูจะต้องมีความรู้เกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างลำดับขั้นการพัฒนาการของเด็กกับกระบวนการสอนและเนื้อหาทางคณิตศาสตร์
นอกจากนี้ครูจะต้องเป็นที่รู้จักเด็กของตนเองเป็นอย่างดี รู้ว่าแต่ละคนจะต้องใช้วิธีการอย่างไรจึงจะได้ผล
1. การนับ เป็นคณิตศาสตร์เกี่ยวกับตัวเลขอันดับแรกที่เด็กรู้จัก เป็นการนับอย่างมีความหมาย เช่น การนับที่ 1-10 หรือ 1-20ได้
2. ตัวเลข เป็นการให้เด็กรู้จักตัวเลขที่เห็นหรือใช้อยู่ในชีวิตประจำวัน ให้เด็กเล่นของเล่นเกี่ยวกับตัวเลข เช่น มากกว่า น้อยกว่า เพิ่มขึ้น ลดลง ฯลฯ
3. การจับคู่ ให้เด็กรู้จักการสังเกตลักษณะต่าง ๆ และจับคู่สิ่งที่เข้าคู่กัน หรืออยู่ประเภทเดียวกันเช่น ดินสอคู่กับดินสอ
4. การจัดประเภท เป็นการฝึกฝนให้เด็กรู้จักการสังเกตคุณสมบัติของสิ่งต่าง ๆ ว่ามีความแตกต่างกันหรือเหมือนกันในบางเรื่อง และสามารถจัดเป็นประเภทต่าง ๆ ได้
5. การเปรียบเทียบ เด็กจะอาศัยความสัมพันธ์ระหว่างของสองสิ่งหรือมากกว่า รู้จักใช้คำศัพท์ พร้อมจัดประสบการณ์ที่สอดคล้องเช่น ยาวกว่า สั้นกว่า หนักกว่า เบากว่า ฯลฯ
6. การจัดลำดับ เป็นเพียงการจัดสิ่งของชุดหนึ่ง ๆ ตามคำสั่งหรือตามกฎ เช่น สูงไปต่ำ ต่ำไปสูง
7. รูปทรงและเนื้อที่ ครูยังต้องจัดประสบการณ์ให้เด็กได้เรียนรู้เกี่ยวกับวงกลม สามเหลี่ยม สี่เหลี่ยมจัตุรัส สี่เหลี่ยมผืนผ้า ความลึก ตื้น กว้างและแคบเพื่อให้เด็กได้คิดว่ารุปทรงต่างทางคณิตศาสตร์อยูที่ไหนบ้าง เป็นอะไรได้บ้าง
8. การวัด มักให้เด็กลงมือวัดด้วยตนเอง ให้รู้จักความยาวและระยะทาง รู้จักการชั่งน้ำหนักและรู้จักการประมาณอย่างคร่าว ๆ ควรให้เด็กได้ฝึกฝนการเปรียบเทียบและการจัดลำดับมาก่อน
9. เซท เป็นการสอนเรื่องเซทอย่างง่าย ๆ จากสิ่งรอบ ๆ ตัว มีการเชื่อมโยงกับสภาพรวม เช่น รองเท้ากับถุงเท้า ดินสอกับสมุด
10. เศษส่วนปกติแล้วการเรียนเศษส่วนมักจะยังไม่เริ่มใช้กับเด็กเพราะด็กอาจยังไม่เข้าใจแต่ครูปฐมวัยสามารถสอนได้โดยเน้นส่วนรวม ที่เอากจิกรรมเข้ามาช่วยทำให้เด็กเข้าใจมากขึ้น
11. การทำตามแบบหรือลวดลาย เป็นการพัฒนาให้เด็กจดจำรูปแบบหรือลวดลาย และพัฒนาการจำแนกด้วยสายตา ที่สอดคล้องกันตามรูปแบบและลวดลายที่เจอ
12. การอนุรักษ์ โดยให้เด็กได้ลงมือปฏิบัติจริง จุดมุ่งหมายของการสอนเรื่องนี้ก็คือ ให้เด็กมีความคิดรวบยอดเรื่องการอนุรักษ์ที่ว่า ปริมาณของวัตถุจะยังคงที่ไม่ว่าจะย้ายที่หรือทำให้มีรูปร่างเปลี่ยนไปก็ตามสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนไปและให้สอดคล้องกับการสอนเด็กด้วย
ลักษณะหลักสูตรที่ดี
ต้องมีความสมดุล
-เน้นกระบวนการคิดและพัฒนารวบรวมความคิด
-เน้นการเรียนรู้ภาษาและการใช้ภาษาพูที่สัมพันธ์กับกิจกรรมในนขีวิตประวันไม่ใช่การท่องจำ
-แนะนำคำศัพท์ใหม่ๆและสัญลักษณ์ที่ง่ายๆแก่เด็ก
-ทำให้เด็กเกิดความเชื่อมั่น
-ส่งเสริมให้เด็ฏเกิดการรับรู้สามารถอธิบายได้
-เน้นให้เด็กเกิดความคิดรวมยอดที่ลักษณะคณิตศาสตร์
-เปิดให้เด็กไดค้นคว้าสำรวจรู้จักตัดสินใจด้วยตนเอง
วันนี้อาจารย์สั่งการบ้านว่า
- เมือ่ไปสังเกตเด็กที่ตนเองได้เลือกโรงเรียนวางแล้วให้ไปดูว่าได้มีการจัดกิจกรรมเกี่ยวกับคณิตศาสตร์หรือไม่และมีลักษณะอย่างไร

วันพฤหัสบดีที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551

สรุปการเรียนอาทิตย์ที่ 3

วันนี้ได้ปรับแต่งบล็อกและนำบทความ งานวิจัยเข้ามาในบล็อกและอาจารย์ได้สอนและอธิบายพัฒนาการทางสติปัญญาของเพียเจต์
โดยเพียเจต์สรุปว่า พัฒนาการของเด็กสามารถอธิบายได้โดยลำดับระยะพัฒนาการทางชีววิทยาที่คงที่แสดงให้ปรากฎปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่นมี 2 ขั้น
1. ขั้นรับรู้ด้วยประสาทสัมพันธ์ช่วงอายุ 0-2 ปี โดยยึดตนเองเป็นศูนย์กลาง
2. ขั้นก่อนปฎิบัติการคิดช่วงอายุ 2-7 ปีขึ้นอยู่กับการรับรู้เป็นส่วนใหญ่
และต่อด้วยการอธิบายถึงประเภทในการใช้แต่งเพลงว่าควรจะแต่งในรูปลักษณะใดที่จะเหมาะสมกับเด็ก

วันจันทร์ที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551

ความคืบหน้าของการทำบล็อก

2สัปดาห์แล้วที่อาจารย์ให้ทำบล็อกแต่ยังไม่เคยส่งบทความเลยวันนี้รายงานความคืบหน้าของบล็อกที่อาจารย์ให้ทำ
1.มีลิงก์ของเพื่อน
2.มีการแตกแต่งเพิ่มเติมจากอาทิตย์ก่อนๆ
3.อาทิตย์ที่แล้วอาจารย์สอนร้องเพลงที่เป็นเพลงเกี่ยวกับคณิตศาสตร์

วันพฤหัสบดีที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551